Dip chip คืออะไร

แก้ไขเมื่อ วันพุธ, 31 มกราคม เมื่อ 3:44 PM

Dip chip คือ ขั้นตอนหนึ่งของการยืนยันตัวตนลูกค้าด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกนำมาใช้ในการเปิดบัญชีและทำความรู้จักลูกค้า (Know Your Customer หรือ KYC) ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มความแม่นยำและความรวดเร็วในการตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ซึ่งในปัจจุบันลูกค้าสามารถทำการยืนยันตัวตนผ่านระบบนี้ได้ ณ จุดบริการ Counter Service ของร้าน 7-Eleven

ทำไมต้องยืนยันตัวตนด้วยระบบ Dip chip


เนื่องจากบิทคับถือว่าเป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางการเงินรูปแบบหนึ่ง เราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงระเบียบในการรับลูกค้าด้วย โดยระบบการเก็บข้อมูลลูกค้าผ่านการทำ Dip chip นี้ เป็นหนึ่งในมาตรการตามเกณฑ์การอนุมัติรับลูกค้าของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่บิทคับ รวมถึงธนาคารและหน่วยงานที่ให้บริการทางการเงินต่าง ๆ ได้มีการนำมาใช้ เพื่อให้การเก็บและตรวจสอบข้อมูลลูกค้ามีความแม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนด้วยระบบ Dip chip


การยืนยันตัวตนด้วยระบบ Dip chip นี้มีความสะดวกและรวดเร็ว โดยขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้

  1.  หลังจากที่ท่านกรอกข้อมูลบนระบบบิทคับ จนถึงหน้าที่ระบบสร้าง QR Code สำหรับการยืนยันตัวตนด้วยระบบ Dip chip ปรากฏขึ้นมาแล้ว ให้ท่านนำบัตรประชาชนตัวจริงไปที่ร้านค้าที่มีบริการ Counter Service พร้อมรูป QR Code ที่ได้จากระบบบิทคับ ภายใน 24 ชั่วโมง
  2.  แจ้งพนักงานที่ร้านว่าต้องการยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีบิทคับ
  3.  พนักงานจะสแกน QR Code ที่ลูกค้าได้จากระบบของบิทคับ
  4.  นำบัตรประชาชนเสียบเข้ากับเครื่องที่ร้านจัดเตรียมไว้ให้

    ตัวอย่างเครื่องที่ใช้สำหรับการทำ Dip chip
    messageImage_1654772186883.jpg

  1. หลังจากที่เครื่องอ่านข้อมูลจากบัตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านดึงบัตรออก และพนักงานจะทำการถ่ายรูปของท่าน
  2. หากพนักงานตรวจสอบแล้วว่าข้อมูลและรูปภาพที่ได้ มีความถูกต้องครบถ้วนดีแล้ว จะออกสลิปให้เพื่อยืนยันว่าการดำเนินการในส่วนของการยืนยันตัวตนผ่านระบบ Dip chip เสร็จเรียบร้อยแล้ว
  3. รอผลการตรวจสอบจากบิทคับ ซึ่งจะส่งให้ท่านทางอีเมล

ถ้ายืนยันตัวตนด้วยระบบ Dip chip แล้วไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร


ในกรณีที่ท่านทำการส่งข้อมูลผ่านระบบ Dip chip แล้วหลังจากนั้นได้รับการแจ้งว่า ข้อมูลของท่านไม่ผ่านการตรวจสอบ แนะนำให้ท่านตรวจสอบดังนี้

  • บัตรประชาชนที่ท่านใช้ทำ Dip chip หมดอายุแล้วหรือไม่ (บัตรประชาชนต้องยังไม่หมดอายุ หรือมีอายุอย่างน้อย 60 วันก่อนบัตรหมดอายุ)
  • ชื่อบนบัตรประชาชนกับชื่อบนบัญชีบิทคับที่ท่านใช้ QR Code มาสแกน ต้องเป็นชื่อเดียวกัน
  • ท่านกรอกข้อมูลบนระบบบิทคับถูกต้องและครบถ้วนแล้วหรือไม่ ก่อนทำ Dip chip
  • ท่านใช้ QR Code ที่ถูกต้องมาแสดงต่อร้านค้าเพื่อทำ Dip chip (เช่น QR Code ยังไม่หมดอายุ QR Code นั้นต้องยังไม่เคยถูกใช้สแกนมาก่อน หากท่านมีการกดย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้าหลังจากที่ระบบสร้าง QR Code มาแล้วหรือลงชื่อออกจากแอปพลิเคชันบิทคับ QR Code ที่เคยสร้างมาแล้วจะถูกยกเลิก ในกรณีนี้ท่านต้องสร้างโค้ดใหม่)


ชาวต่างชาติหรือคนไทยที่อาศัยอยู่นอกประเทศไทยต้องยืนยันตัวตนด้วยระบบ Dip chip ด้วยหรือไม่


เนื่องจากขณะนี้ระบบ Dip chip ยังรองรับแค่การอ่านบัตรประชาชนไทย ดังนั้น ระบบนี้จึงถูกนำมาใช้สำหรับลูกค้าที่ระบุสัญชาติไทย และระบุที่อยู่ปัจจุบันในประเทศไทยเท่านั้น

 

ข้อควรทราบอื่น ๆ เกี่ยวกับการยืนยันตัวตนด้วยระบบ Dip chip

  • ชื่อบนบัตรประชาชนและที่ระบุบนบัญชีบิทคับต้องเป็นของบุคคลเดียวกัน
  • โปรดใช้บัตรประชาชนของท่านเอง และดำเนินการด้วยตนเอง ในการยืนยันตัวตนด้วยระบบ Dip chip เนื่องจากระบบจะมีการเทียบข้อมูลและรูปภาพบนบัตร กับรูปถ่ายใบหน้าของท่านที่ร้านค้า ซึ่งหากข้อมูล/ใบหน้าไม่ตรงกัน พนักงานสามารถปฏิเสธการส่งข้อมูลของท่านมายังบิทคับได้
  • โปรดใช้บัตรประชาชนเท่านั้นในการยืนยันตัวตนด้วยระบบ Dip chip (ไม่สามารถใช้ใบขับขี่หรือบัตรประเภทอื่น ๆ ได้)
  • QR Code ที่ใช้แสดงแก่ร้านค้า ต้องยังไม่หมดอายุ (ใช้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากโค้ดถูกสร้าง)

หมายเหตุท่านสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืนยันตัวที่ Counter Service บนแอปพลิเคชัน/เว็บไซต์ได้ที่ วิธีการยืนยันตัวตนที่ Counter Service ด้วยระบบ Dip chip

(Video resource: https://www.youtube.com/watch?v=Zys0R4jJ9aE

 

อ้างอิง: https://www.sec.or.th/Documents/PHS/Attach/576/hearing-37-2562-s02.pdf

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว