Avalanche ได้รับการยอมรับเป็นแพลตฟอร์มที่มีความเร็ว ความสามารถในการขยายตัว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดแพลตฟอร์มหนึ่ง โดย Avalanche ใช้ระบบฉันทามติแบบ Proof-of-stake ร่วมกับการมีโครงสร้างเครือข่ายแบบ DAG (Directed Acyclic Graphs)
DAG เป็นโครงสร้างที่แตกต่างกับบล็อกเชน กล่าวคือ บล็อกเชนที่เราคุ้นเคยจะมีโครงสร้างเป็นเส้นตรง บล็อกที่ 1 จะถูกต่อด้วยบล็อกที่ 2 และบล็อกที่ 2 จะถูกต่อด้วยบล็อกที่ 3 ไปเรื่อย ๆ ในขณะที่โครงสร้างของ DAG จะมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม ทำให้ข้อมูลสามารถเชื่อมต่อไปในทิศทางใดก็ได้ การประมวลผลหรือยืนยันธุรกรรมจึงสามารถทำได้แบบคู่ขนาน (Parallel Processing) ไม่จำเป็นต้องรอให้บล็อกก่อนหน้าได้รับการยืนยันก่อนจึงจะยืนยันบล็อกต่อไปได้
อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ คือ Avalanche ไม่ได้เป็นเพียงแค่บล็อกเชนเครือข่ายเดียว แต่เป็นบล็อกเชนถึง 3 เครือข่ายที่ทำงานร่วมกันจนเกิดเป็นแพลตฟอร์ม Avalance โดยแต่ละเครือข่ายมีชื่อเรียกและการทำงานดังต่อไปนี้
1. Exchange Chain (X-Chain) — คอยดูแลด้านการแลกเปลี่ยนมูลค่าเป็นหลัก โดยมีโทเคน AVAX เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน
2. Platform Chain (P-Chain) — ผู้พัฒนาสามารถสร้างเครือข่ายย่อย (Subnets) ผ่าน P-Chain โดย P-Chain จะเป็นตัวคอยติดต่อกับเครือข่ายย่อยอีกที
3. Contract Chain (C-Chain) — ผู้พัฒนาสามารถสร้าง Smart contract ผ่านการใช้ API ของ C-Chain นี้ได้
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
เยี่ยมเลย!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ส่งข้อเสนอแนะแล้ว
เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว