📱 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ท่านสามารถติดต่อ Bitkub Exchange ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ของ Bitkub Call Center ได้ที่หมายเลข 1518
โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ การเปิดใช้งานเบอร์โทรศัพท์ใหม่ 1518 สำหรับติดต่อ Bitkub Call Center

หลักการทำงานของ Polkadot

แก้ไขเมื่อ วันเสาร์, 18 กุมภาพันธ์, 2023 เมื่อ 5:01 PM

Relay Chain & Parachain

Polkadot เป็นเครือข่ายบล็อกเชนแบบ Sharded Blockchain ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีการแบ่ง Nodes สำหรับการประมวลผลออกเป็น Nodes ย่อยๆ ภายในเครือข่าย ทำให้เครือข่ายสามารถประมวลแบบขนาน หรือ Parallel Processing และแก้ปัญหา Scalability ได้ โดยทางผู้พัฒนา Polkadot เรียกระบบที่เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญนี้ว่า Relay Chain และเรียกส่วนหน่วยประมวลผลย่อยเหล่านี้ว่า Parachain

Collators & Validators

Collators หรือ ผู้เรียบเรียง มีบทบาทในการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลภายใน Shard หนึ่งๆ ก่อนที่จะส่งต่อไปให้กับ Validators หรือผู้ตรวจสอบให้ทำการรับรองข้อมูล และกระจายข้อมูลนั้นๆ ออกสู่เครือข่าย Relay Chain ต่อไป

Bridges

เป็นหนึ่งจุดเด่นสำคัญของ Polkadot ที่มาช่วยเรื่อง Interoperability หรือการเชื่อมต่อเครือข่ายบล็อกเชนเข้าด้วยกัน ซึ่งตัว Bridges หรือสะพานคือตัวที่จะเชื่อมต่อเครือข่าย Polkadot เข้ากับบล็อกเชนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Ethereum หรือ Bitcoin ซึ่งข้อมูลการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นในเครือข่ายบล็อกเชนเหล่านี้จะถูกส่งมายัง Collators เพื่อรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งต่อให้ Validators ทำการยืนยันข้อมูล และส่งขึ้นไปบันทึกในเครือข่าย Relay Chain

Upgradable

เดิมทีการอัปเกรดเครือข่ายบล็อกเชนอาจทำให้เกิด Hard Fork ซึ่งเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของผู้พัฒนา เช่นกลุ่มหนึ่งอยากอัปเกรดจุดนี้ แต่อีกกลุ่มอยากให้เลือกปรับปรุงตรงนั้น ซึ่งจะทำให้เครือข่ายบล็อกเชนนั้นถูกแยกออกเป็น 2 ฝั่ง อย่างกรณีของ Ethereum กับ Ethereum Classic หรือ Bitcoin กับ Bitcoin Cash แต่เครือข่าย Polkadot ถือเป็นเครือข่ายแรกที่นำเสนอโครงสร้างที่สามารถทำการอัปเกรดบล็อกเชนได้โดยไม่เกิด Hard Fork


บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว