📱 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ท่านสามารถติดต่อ Bitkub Exchange ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ของ Bitkub Call Center ได้ที่หมายเลข 1518
โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ การเปิดใช้งานเบอร์โทรศัพท์ใหม่ 1518 สำหรับติดต่อ Bitkub Call Center

จุดเด่นของ Fantom

แก้ไขเมื่อ วันเสาร์, 18 กุมภาพันธ์, 2023 เมื่อ 7:56 PM

Fantom ไม่ใช่บล็อกเชน แต่เป็น DAG (Directed Acyclic Graph) ซึ่ง DAG มีความแตกต่างกับบล็อกเชนคือ DAG มีการเชื่อมต่อแต่ละบล็อกในเครือข่ายเป็นลักษณะคล้ายใยแมงมุม ขณะที่บล็อกเชนจะเป็นการเชื่อมต่อแบบเส้นตรง ต้องรอให้บล็อกก่อนหน้าได้รับการยืนยันก่อนจึงจะสามารถดำเนินการบล็อกถัดไปได้ ในขณะที่ DAG สามารถตรวจสอบและยืนยันข้อมูลแต่ละบล็อกได้แบบคู่ขนาน ทำให้ Fantom มีความเร็วในการยืนยันธุรกรรมที่สูงกว่าเครือข่ายบล็อกเชนทั่วไป

 

Fantom ใช้ระบบฉันทามติ (Consensus Algorithm) ที่ปรับปรุงมาจาก aBFT (Asynchronous Byzantine Fault Tolerance) ในชื่อ Lachesis (ลา-คี-ซิส) ซึ่ง aBFT เป็นระบบที่แตกแขนงออกมาจาก BFT (Byzantine Fault Tolerance) 

 

หากสงสัยว่า Byzantine Fault Tolerance คืออะไร สามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ว่า BFT เป็นระบบที่ทำให้เครือข่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ แม้บางบางโหนดในเครือข่ายมีพฤติกรรมที่น่าสงสัย แต่ BFT ใช้เวลาค่อนข้างสูง เพราะต้องรอให้ทุกโหนดตอบกลับมา ในขณะที่ Asynchronous Byzantine Fault Tolerance ไม่จำเป็นต้องรอทุกโหนดตอบกลับมาก็สามารถบรรลุข้อตกลงได้ ทำให้เครือข่ายสามารถประมวลผลและยืนยันธุรกรรมได้เร็วกว่า

 

สำหรับวิธีการคัดเลือกโหนดที่จะมาเป็นผู้ตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม Fantom ใช้ระบบคล้าย ๆ กับ Proof-of-Stake คือผู้ที่ล็อกเหรียญ (Stake) ไว้ในเครือข่ายจะสามารถร่วมเป็นผู้ตรวจสอบ (Validator) เพื่อช่วยเครือข่ายตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม เพื่อรับรางวัลเป็นเหรียญ FTM และทำให้เครือข่ายมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม การจะเป็นผู้ตรวจสอบบน Fantom ได้นั้น จำเป็นต้องล็อกเหรียญ FTM อย่างน้อย 500,000 เหรียญ ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงมาก แต่สำหรับผู้ที่มีเหรียญไม่ถึงก็สามารถเข้าร่วมการตรวจสอบผ่านการเลือกตัวแทน (Delegate) ที่เราไว้ใจแทนได้ ซึ่งวิธีนี้จะใช้เหรียญ FTM ขั้นต่ำแค่ 1 เหรียญเท่านั้น ซึ่งการเลือกตัวแทนก็ต้องล็อกเหรียญไว้เช่นกัน โดยสามารถเลือกระยะเวลาในการล็อกได้ตั้งแต่ 1 วัน จนถึง 1 ปี รางวัลที่ได้รับก็จะมากขึ้นตามระยะเวลาที่ล็อกเหรียญ

 

เครือข่าย Fantom ยังรองรับ EVM (Ethereum Virtual Machine) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สำหรับการเขียน Smart contract เพื่อสร้างเป็นแอปพลิเคชันบน Ethereum ทำให้นักพัฒนาบน Ethereum สามารถย้ายเข้ามาสร้างแอปฯ บน Fantom ได้อย่างง่ายดาย 

 

และด้วยการที่ Ethereum ถือเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่มีนักพัฒนาเยอะที่สุดเครือข่ายหนึ่งในปัจจุบัน การที่ Fantom รองรับ EVM จะยิ่งช่วยผลักดันให้เครือข่ายสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว 

 

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว