บล็อกเชนคืออะไร ?

แก้ไขเมื่อ วันเสาร์, 18 กุมภาพันธ์, 2023 เมื่อ 9:38 PM

บล็อกเชน (Blockchain) คือ ระบบที่ทำให้การโอนบิตคอยน์เกิดขึ้นได้ ไม่เหมือนกับสกุลเงินทั่วไปอย่างเช่น ดอลล่าร์ หรือ ยูโร ที่สามารถเก็บและใช้ได้แบบรูปธรรม แต่บิตคอยน์นั้นอยู่ในโลกดิจิทัลและถูกเก็บอยู่ในบัญชีที่มีการกระจายศูนย์ที่เรียกว่า "บล็อกเชน" นั่นเอง

 

บล็อกเชน เปรียบเสมือนธนาคารที่ทำบัญชีของทุก ๆ ธุรกรรมของบิตคอยน์ ซึ่งบัญชีนี้จะบันทึกทุกธุรกรรม ทำให้ผู้ใช้งานสามารถยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมแต่ละธุรกรรมได้ และทำให้บิตคอยน์ทุกเหรียญปลอดภัยจากการปลอมแปลง

 

บล็อกเชนทำงานอย่างไร?

  • คำขอธุรกรรม - มีการส่งคำขอในการทำธุรกรรมหรือมีคนต้องการจะส่งบิตคอยน์ จากกระเป๋าหนึ่งไปอีกกระเป๋าหนึ่ง คล้าย ๆ กับการจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือจ่ายค่าบริการ
  • คำขอประกาศ - คำขอในการโอนบิตคอยน์จะถูกประกาศในเครือข่ายแบบ Peer to Peer (ที่มีคอมพิวเตอร์ทำงานเป็นโนด) ให้เครือข่ายได้รับรู้
  • การตรวจสอบ - เครือข่ายจะยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมโดยใช้อัลกอริทึมทางคณิตศาสตร์
  • ข้อมูลของบล็อก -  เมื่อธุรกรรมถูกยืนยัน แปลว่าบิตคอยน์นั้นมีความถูกต้องและไม่ใช่คำขอซ้ำกับธุรกรรมอื่น ๆ ธุรกรรมของผู้ใช้งานที่จะส่งบิตคอยน์ก็จะถูกรวมเข้ากับธุรกรรมของคนอื่น ๆ รวมกันเป็น “บล็อก” 
  • การเพิ่มบล็อกเข้าบล็อกเชน - บล็อกใหม่ที่เกิดขึ้นหลังการตรวจสอบนี้จะถูกผูกเข้าไปกับเครือข่ายบล็อกเชน บล็อกเชนจึงหมายถึงบล็อกแต่ละบล็อกที่เก็บข้อมูลธุรกรรมที่ยืนยันแล้วของแต่ละคนไว้แล้วถูกผูกโยงเข้าด้วยกัน ดังนั้น ทุกๆ ธุรกรรมก็จะถูกบันทึกและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
  • เสร็จสิ้นธุรกรรม - จากนั้นการส่งบิตคอยน์จากกระเป๋าหนึ่งไปอีกกระเป๋าหนึ่งก็จะสำเร็จ

อย่าลืมว่า!

บล็อกเชนเทคโนโลยี ไม่เพียงแต่สามารถขับเคลื่อนการโอนสิ่งที่มีมูลค่าอย่างบิตคอยน์เท่านั้น แต่ยังสามารถใช้เพื่อส่งข้อมูลต่างๆ ได้อีกด้วย และด้วยการใช้เทคโนโลยีนี้ผู้ใช้งานจะสามารถยืนยันธุรกรรมโดยไม่ต้องใช้คนกลางหรือองค์กรกลางใด ๆ ทั้งสิ้น

 

ท่านสนใจซื้อ Bitcoin รึเปล่า ? ดูตลาดของเราได้ที่นี่ : https://www.bitkub.com/market/BTC 

 

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว