จุดเด่นของ Axelar

แก้ไขเมื่อ Wed, 29 Nov 2023 เมื่อ 11:39 AM

ในปัจจุบัน มีโปรเจกต์เกี่ยวกับ Cross-chain Solution เกิดขึ้นมากมาย อย่างไรก็ตาม Axelar ก็ยังมีความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยแนวคิดที่แตกต่างออกไป ในขณะที่โปรเจกต์ Cross-chain ส่วนใหญ่พยายามที่จะเชื่อมต่อบล็อกเชนเข้าด้วยกันผ่านการเป็นสะพาน (Bridge) ที่รองรับการโอนสินทรัพย์ไปมาระหว่างเครือข่ายเท่านั้น แต่ Axelar กลับมีแนวคิดที่จะเชื่อมต่อการทำงานร่วมกันระหว่าง Smart contract แทน


ด้วยเทคโนโลยี GMP (General Message Passing) ที่เปรียบเสมือนการกำหนดภาษากลางที่ทำให้ Smart contract ที่ถูกเขียนขึ้นมาคนละภาษาสามารถสื่อสารกันได้อย่างคล่องตัว โดยมีแพลตฟอร์ม Axelar เป็นตัวกลางคอยอำนวยความสะดวกและมอบเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน นับเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการใช้งานรูปแบบใหม่ ๆ และปลดล็อกขีดจำกัดให้กับการทำงานข้ามเชน


image


นอกจากนี้ Axelar ยังมีพาร์ตเนอร์ระดับยักษ์ใหญ่ในวงการบล็อกเชนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Avalance (AVAX), Ledger และ Polkadot (DOT) เป็นต้น และยังได้รับการลงทุนจากสถาบันชั้นนำอย่าง Polychain Capital, Galaxy Digital, Divergence Ventures ฯลฯ


ความสำคัญของการทำงานแบบ Cross-chain


การทำงานแบบ Cross-chain หมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างบล็อกเชน 2 เครือข่ายขึ้นไป ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันบล็อกเชนมีอยู่ด้วยกันหลายเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum, Cardano ฯลฯ แต่เนื่องจากแต่ละบล็อกเชนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเข้ารหัส ภาษาที่ใช้เขียน Smart contract ระยะเวลาในการสร้างบล็อก ไปจนถึงระบบฉันทมติ


เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ให้เปรียบบล็อกเชนเป็นประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศต่างมีภาษา วัฒนธรรม กฎระเบียบ และระบอบการปกครองที่แตกต่างกันออกไป เมื่อมีการเดินทางข้ามประเทศ การแลกเปลี่ยนแรงงาน มีเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยลดช่องว่างของความแตกต่างเหล่านั้น จึงเกิดเป็นการไหลเวียนของเงินทุนที่อิสระมากขึ้น เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนทักษะ มีการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ผลที่ตามมาจึงเป็นเศรษฐกิจโลกที่สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และทุกฝ่ายต่างก็ได้รับประโยชน์กันอย่างถ้วนหน้า


เมื่อบล็อกเชนแต่ละเครือข่ายสามารถทำงานร่วมกันได้ ประโยชน์ที่จะตามมาก็มีมากมาย ยกตัวอย่าง เช่น

  1. เงินทุนสามารถหมุนเวียนไปยังบล็อกเชนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับอุตสาหกรรมบล็อกเชนโดยรวม
  2. ชุมชนสามารถเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากระบบเอื้ออำนวยให้คนที่อยู่ต่างเครือข่ายสามารถเข้าถึงชุมชนหรือโอนสินทรัพย์เข้ามาในโปรเจกต์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
  3. การเชื่อมต่อกับสินทรัพย์อื่น ๆ นอกเหนือจากคริปโทเคอร์เรนซี เช่น สกุลเงิน ราคาหุ้น พันธบัตร ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ DeFi มีบริการที่หลากหลายมากขึ้น

อ้างอิง

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว