ANKR โทเคนจาก Ankr Network แพลตฟอร์ม Web3 ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

แก้ไขเมื่อ วันพฤหัสบดี, 7 ธันวาคม, 2023 เมื่อ 7:15 PM


เมื่อ Node Infrastructure, Staking, Defi และบริการอื่น ๆ อีกมากมายมารวมตัวกันจึงเกิดเป็น Ankr Network หนึ่งในเครือข่ายที่ครบครันเพื่อบริการ Cloud Computing มาพร้อมกับโทเคนประจำแพลตฟอร์มอย่าง ANKR ในบทความนี้ท่านจะได้ทำความรู้จักกับเครือข่าย Ankr เเละโทเคน ANKR


เครือข่าย Ankr คืออะไร?



Ankr เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเเพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนตัวกลางคอยเชื่อมต่อระหว่างผู้พัฒนา, DApps ,กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัล, ศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนเเละการใช้งานอื่น ๆ ที่ต้องใช้บล็อกเชนเข้าด้วยกันผ่าน Web3 โดยมีการให้บริการหลักคือ Remote Procedure Call (RPC), Node Hosting, API Access รวมถึงการให้บริการด้านความปลอดภัยอย่าง POS Security ที่จะทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าระบบของ Ankr Network นั้นสะดวก น่าเชื่อถือ เเละปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันระบบที่ใช้งานอยู่คือเครือข่าย Ankr 2.0 มี End user อยู่ที่จำนวน 2.3 ล้านคนใน 160 ประเทศ ถือได้ว่า Ankr เป็นเเพลตฟอร์มที่พร้อมจะดูเเลเรื่องที่ละเอียดซับซ้อนอย่างการรักษาระบบเเละโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructures) ต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนนั่นเอง


การทำงานของเครือข่าย Ankr


ระบบการทำงานเครือข่าย Ankr อธิบายอย่างง่าย ๆ นั่นก็คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีทรัพยากรเหลือสามารถนำทรัพยากรที่มีมาให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานบนระบบ Ankr ได้ โดยผู้ที่ให้บริการจะได้รับค่าตอบเเทนสำหรับทรัพยากรที่เสียไป ส่วนผู้ใช้งานก็จะเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับจำนวนความต้องการใช้งานเท่านั้น ทำให้เกิดราคาที่ไม่สูงเกินไปสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก อีกทั้งบุคคลทั่วไปก็สามารถเข้าไปใช้บริการ RPC ได้ เพียงเเต่จะไม่ได้มีสิทธิพิเศษเหมือนเช่นบัญชี Premium เเละ Enterprise ผู้ใช้งานจะมั่นใจได้ว่าระบบนั้นปลอดภัยเพราะภายในเครือข่ายมีเกณฑ์ในการคัดกรองคอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ต่ำกว่ามาตรฐานออกตลอดเวลา เสริมด้วยการตรวจสอบด้วยการจัดลำดับตามผลงานที่ทำได้ ทำให้ยากต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์


ใครเป็นคนก่อตั้ง Ankr?



ในปี 2017 คุณ Chandler Song เเละ คุณ Ryan Fang สองเพื่อนสนิทจากมหาวิทยาลัย Berkeley ร่วมด้วยคุณ Stanley Wu อดีตวิศวกรคอมพิวเตอร์จาก Amazon ได้ก่อตั้ง Ankr Network ขึ้นมาเพื่อสร้างเเพลตฟอร์มของ Web3 หรือ Decentralized Internet ที่ง่ายต่อการใช้งานโดยทั่วไป รวมถึงเพื่อรวบรวมพลังของ Cloud computing ที่ไม่ได้ใช้งานจาก Data Center ต่าง ๆ นำมาทำให้มีประโยชน์มากขึ้น เช่น การขุด Bitcoin, Node Hosting, Internet-of-Things เเละอื่น ๆ


อ้างอิง



บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว