📱 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ท่านสามารถติดต่อ Bitkub Exchange ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ของ Bitkub Call Center ได้ที่หมายเลข 1518
โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ การเปิดใช้งานเบอร์โทรศัพท์ใหม่ 1518 สำหรับติดต่อ Bitkub Call Center

RNDR (RenderToken) เหรียญที่ให้ยืมพลังประมวลผลกราฟิก

แก้ไขเมื่อ วันพุธ, 6 ธันวาคม, 2023 เมื่อ 1:30 PM


การสร้างสื่อดิจิทัลทุกวันนี้ กราฟิกเป็นสิ่งผู้คนจะเห็นเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือภาพยนต์ แต่การที่จะสร้างกราฟิกในระดับนั้นได้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือคอมพิวเตอร์ที่จะมาเรนเดอร์ (Render) หรือสร้างกราฟิกเหล่านั้นขึ้นมา ยิ่งเป็นกราฟิกที่สมจริงหรือสวยงามมากเท่าใดก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีพลังประมวลผลสูงมากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ใช่ศิลปินทุกคนจะสามารถเข้าถึงพลังประมวลผลระดับนั้นได้


ข้อจำกัดนี้ได้ทำให้เกิดโปรเจกต์ Render Network ขึ้นมา ซึ่งจะเข้ามาเป็นระบบที่ทำให้เหล่าศิลปินสามารถ “ยืม” พลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกมาใช้กับงานของพวกเขาได้ และในบทความนี้ บิทคับ เอ็กซ์เชนจ์จะพาท่านมาทำความรู้จักกับ Render Network


Render Network คืออะไร?



Render Network เป็นเครือข่ายสำหรับการยืมและปล่อยเช่าพลังในการประมวลผลกราฟิก (Graphics Processing) แบบกระจายอำนาจ โดยมีโทเคน RNDR ที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum เป็นโทเคนประจำเครือข่าย

Render Network เริ่มทำงานครั้งแรกในปี 2017 พร้อมวิสัยทัศน์ที่จะเป็นเครือข่ายที่สนับสนุนงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่การประมวลขั้นพื้นฐานไปจนถึงการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (AI)


ทีมผู้ก่อตั้งมีมุมมองว่า เมื่อเจ้าของใช้งานเสร็จแล้ว คอมพิวเตอร์บางเครื่องก็จะไม่ได้นำไปทำประโยชน์อย่างอื่นต่อ หรือ GPU บางเครื่องก็ถูกนำไปใช้ขุดคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาแต่แรก จะเป็นอย่างไรถ้าทำให้ผู้คนสามารถนำพลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์ไปให้ผู้ที่ต้องการยืมแทน Render Network จึงมาทำหน้าที่เชื่อมต่อทั้งผู้ยืมและผู้เช่าเข้าหากัน เกิดเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีอุปสงค์-อุปทานของพลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั่วโลกขึ้นมา และยังสามารถลดต้นทุนในการเรนเดอร์กราฟิกลงไปได้อย่างมากเมื่อเทียบกับการหาคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่มาใช้เอง


Render Network เข้ามาแก้ปัญหาอะไร?


ทุกวันนี้การที่จะได้คอมพิวเตอร์ที่มีประทิธิภาพสูงมาสักเครื่องจำเป็นต้องใช้ต้นทุนที่สูง หากต้องการใช้กราฟิกที่มีสเกลใหญ่เท่าไหร่ก็ยิ่งต้องใช้ต้นทุนมากขึ้น Render Network จึงเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหา โดยมี 3 จุดสำคัญที่ Render Network เข้ามาแก้ไขดังต่อไปนี้


  1. พลังประมวลผลที่ไร้ขีดจำกัด: Render Network เปิดกว้างให้คนที่เป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานทั่วไปหรือคอมพิวเตอร์เล่นเกมก็สามารถนำพลังประมวลผลที่ไม่ได้ใช้มาปล่อยเช่าได้ นั่นหมายความว่าผู้ที่ต้องการยืมพลังประมวลผลจำนวนมาก ๆ เช่น บริษัท หรือสตูดิโอที่สร้างแอนิเมชัน สามารถยืมพลังประมวลผลเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการ
  2. ทางเลือกที่มากกว่า: Render Network ยังช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับทั้งผู้ปล่อยเช่าและผู้เช่า โดยผู้ปล่อยเช่าจะได้รับทางเลือกในการสร้างรายได้ผ่านการปล่อยพลังประมวลผลให้คนที่ต้องการใช้ ส่วนผู้เช่าซึ่งส่วนมากมักเป็นศิลปินหรือบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ไม่ต้องการที่จะลงทุนระยะยาวกับการหาคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงมาใช้เอง การใช้งาน Render Network จึงเป็นทางเลือกที่กลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถเข้าถึงพลังประมวลผลได้ พร้อม ๆ กับลดต้นทุนลงไปได้อีกด้วย
  3. ความโปร่งใส: ด้วยการที่ Render Network เป็นระบบที่ถูกสร้างบนพื้นฐานของบล็อกเชน จึงทำให้มีความโปร่งใสสูง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการยืมพลังประมวลผลได้ เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ปล่อยเช่า โดยดูจากผลงานที่เคยทำสำเร็จแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ Render Network ยังมีระบบช่วยจัดอันดับผู้ปล่อยเช่าตามความน่าเชื่อถืออีกด้วย จึงสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ต้องการเช่าได้

Render Network ตระหนักถึงความท้าทายในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อการประมวลผลกราฟิก จึงได้สร้างระบบที่ให้ประโยชน์แก่ทั้งผู้ที่มีทรัพยากรการประมวลผลที่ไม่ได้ใช้ และผู้ที่ต้องการทรัพยากรเหล่านั้น เพื่อสร้างสรรค์แนวทางการสร้างสื่อดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพทั้งทางด้านคุณภาพและราคาอีกด้วย


อ้างอิง


บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว