เช่นเดียวกับโปรเจกต์บนบล็อกเชนส่วนใหญ่ Quant ก็มีโทเคนเป็นของตัวเองในชื่อ QNT ซึ่งเป็น Utility token (โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์) ที่ทำงานในระบบนิเวศของ Quant
หน้าที่สำคัญของโทเคน QNT ก็คือการเป็นสื่อกลางสำหรับให้นักพัฒนาใช้แลกสิทธิ์ในการใช้งานเครือข่าย Quant และพัฒนาแอปพลิเคชันบนเครือข่าย โดยนักพัฒนาทั้งระดับบุคคลและองค์กรสามารถซื้อโทเคน QNT และนำไปล็อกไว้เป็นเวลา 12 เดือน นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมรายปีที่นักพัฒนาต้องจ่ายเป็น QNT เพื่อให้แอปพลิเคชันของพวกเขาสามารถทำงานต่อไปได้ โดยเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นบนแอปพลิเคชัน นักพัฒนาก็จะได้รับค่าตอบแทนเป็นส่วนหนึ่งของค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการทำธุรกรรม
Quant (QNT) คืออะไร?
Quant คือเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นระบบปฏิบัติการ (Operating system) ที่สามารถเชื่อมต่อบล็อกเชนหลายเครือข่ายเข้าด้วยกันในระดับโลก ชื่อว่า Overledger เพื่อทำให้บล็อกเชนและเครือข่ายต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรี่น
Quant เปิดตัวครั้งแรกในปี 2561 โดยสามารถระดมทุนผ่านการทำ ICO ได้ถึง 11 ล้านดอลลาร์ และนับเป็นโปรเจกต์แรก ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการทำงานร่วมกันของบล็อกเชน ด้วยการเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับบล็อกเชนระบบแรกของโลก
ระบบปฏิบัติการ Overledger ของ Quant สามารถช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบนบล็อกเชนหลายเครือข่ายได้ หรือที่เรียกว่า MApps ซึ่งการที่นักพัฒนาจะสามารถสร้าง MApps ได้นั้น นักพัฒนาจำเป็นต้องถือโทเคน QNT ไว้จำนวนหนึ่งด้วย
ผู้สร้าง Quant
หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Quant คือ Gilbert Verdian เขาเคยมีประสบการณ์ในด้านการยกระดับความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางธุรกิจให้กับธุรกิจทั่วโลกมามากกว่า 20 ปี โดยก่อนหน้าที่จะมาก่อตั้ง Quant เขาเคยเป็น Chief Information Security Officer (CISO) ให้กับ Vocalink บริษัทที่ทำบัตรของ Mastercard เคยเป็น Chief Information Officer ให้กับ NSW Ambulance เป็น CISO ให้กับกระทรวงสาธารณสุข รัฐนิวเซาท์เวลส์ และหัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของกระทรวงยุติธรรมในสหราชอาณาจักร
อีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้ง คือ Dr Paolo Tasca นักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ดิจิทัลที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสมุดบัญชีสาธารณะ ซึ่งเคยเป็นที่ปรีกษาพิเศษด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนให้กับสภาสหภาพยุโรป รวมถึงสหประชาชาติและธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก
อ้างอิง
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
เยี่ยมเลย!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ส่งข้อเสนอแนะแล้ว
เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว