Connext Network คืออะไร?

แก้ไขเมื่อ Tue, 06 Feb 2024 เมื่อ 12:42 PM


Connext Network คือโปรโตคอลแบบเปิดสำหรับการเก็บรักษาและส่งต่อมูลค่าหรือข้อมูลระหว่างบล็อกเชนที่นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่สามารถทำงานได้บนทุก ๆ บล็อกเชน หรือ xApps และทำงานร่วมกับทุกโทเคนได้ โปรโตคอลถูกพัฒนาขึ้นในปี 2017 พร้อมเป้าหมายในการทำให้ Web3 เป็นสิ่งที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายและลดความซับซ้อนของบล็อกเชน


นักพัฒนาสามารถใช้ Connext เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย เช่น

  • ระบบดำเนินการตามผลโหวตของ DAO แบบข้ามเชน
  • สร้าง Bridge ที่ทำงานแบบระบบ Lock-and-mint หรือ Burn-and-mint
  • ระบบที่เชื่อมต่อสภาพคล่องแบบข้ามเชนเพื่อทำให้การทำธุรกรรมราบรื่น
  • ระบบคลังสินทรัพย์และระบบบริหารคลังแบบข้ามเชน
  • ระบบยืม-ให้ยืมแบบข้ามเชน
  • เชื่อมต่อ UniV3 TWAPs ไปสู่ทุกเชนโดยไม่ต้องใช้ Oracle


ฟีเจอร์เด่นของ Connext Network


Connext มาพร้อมกับฟีเจอร์หลากหลายที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสร้างแอปพลิเคชันและยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ พร้อม ๆ กับรองรับการเติบโตและการพัฒนาของเครือข่ายในอนาคต โดยมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ได้แก่


  1. Cross-chain Liquidity
    ผู้พัฒนาสามารถสร้าง DeFi ที่ใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ดึงสภาพคล่องแบบข้ามเชน จึงสามารถสร้างบริการที่หลากหลายให้กับแอปฯ ได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบรวบรวมผลตอบแทน (Yield aggregation) การกู้ยืม และการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์แบบข้ามเชน

  2. Cross-chain NFTs
    Crosschain NFTs สามารถถูกโยกย้ายไปเชนอื่นได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทำให้สามารถเพิ่มความหลากหลายในการใช้งาน NFT ได้ เช่น รองรับระบบการเป็นเจ้าของส่วนหนึ่ง (Fractional NFTs) หรือสามารถนำ NFT ไปใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันได้

  3. Cross-chain Governance
    xApps หรือแอปพลิเคชันที่สร้างบนโปรโตคอลของ Connext นอกจากจะสามารถรองรับการบริหารแบบข้ามเชนได้แล้ว การทำธุรกรรมข้ามเชนก็ยังทำได้ง่ายขึ้น จึงสามารถเพิ่มการใช้งานแอปฯ และขยายชุมชนผู้ใช้ออกไปได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

  4. xERC20
    โทเคนที่ถูกสร้างขึ้นบนโปรโตคอล Connext จะทำงานภายใต้มาตรฐาน xERC20 ซึ่งเป็นส่วนขยายจากมาตรฐาน ERC-20 ของ Ethereum โทเคน xERC20 จึงสามารถถูกโอนข้ามเชนไปมาได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องค่าสลิปเพจ


อ้างอิง

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว