DAI - เหรียญมูลค่าคงที่
บริษัทนักพัฒนาที่ชื่อว่า The Maker Protocol นั้นได้รับการรู้จักเป็นที่แพร่หลายในแง่ของการเป็นหน่วยงานที่ประกอบด้วยระบบด้านต่างๆ ของ Dai (MCD) โดยทางระบบมีการเปิดให้ผู้ใช้สามารถสร้างเหรียญ Dai ขึ้นมาโดยผูกมูลค่ากับสินทรัพย์ และมีหน่วยงาน “Maker Governance” คอยกำกับดูแล โดยหน่วยงานนี้มีหน้าที่คอยดูแล community และบริหารจัดการระบบต่างๆ ในเครือของ Maker Protocol
Dai ถือเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานโดยไร้ศูนย์กลาง และปราศจากความรู้สึกส่วนตัวในการจัดการ ด้วยคุณสมบัตินี้จึงทำให้ระบบสามารถผสานมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลกับเงินสกุลดอลล่าร์ได้อย่างโปร่งใส นอกจากนี้ระบบยังมีมาตรการในการป้องกันการสูญเสียมูลค่าของเหรียญจากเหตุการเงินเฟ้อได้อย่างรัดกุม จึงเรียกได้ว่าระบบของ Dai เป็นการนำเสนอระบบของโลกการเงินที่ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่เลยทีเดียว
ความเป็นมา
โปรเจคของ MakerDAO เริ่มต้นขึ้นในปี 2015 จากการร่วมกันพัฒนา code, ระบบโครงสร้าง รวมไปถึงการวิจัยและการรวบรวมข้อมูลโดยนักพัฒนาจากทั่วทุกมุมโลก
การเผยแพร่ white paper ของ MakerDAO ฉบับแรกเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมปี 2017 รวมไปถึงการเปิดตัวระบบในการสร้างเหรียญ Stablecoin ต้นแบบด้วย (ซึ่งปัจจุบันระบบนี้ถูกเรียกว่า Sai)
ในช่วงปี 2017 มีกลุ่มผู้ใช้ที่ให้ความสนใจกับระบบการสร้าง Stablecoin ขึ้นอย่างล้นหลาม สิ่งนี้ส่งผลให้มีการสร้างเว็บบล็อกสำหรับแอปพลิเคชันที่ไร้ตัวกลางขึ้น เพื่อช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบความเคลื่อนไหวของระบบ DeFi (ระบบการเงินไร้ตัวกลาง)
จะเห็นได้ว่า Dai ประสบความสำเร็จในแง่ของแอปพลิเคชันที่ช่วยให้วงการของเหรียญคงมูลค่า (Stablecoins) เติบโตและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ในแง่ของระบบการเงินที่ถูกออกแบบมาสำหรับเก็บรักษามูลค่าของเงินตรา
สำหรับระบบเหรียญคงมูลค่าของ Dai นั้น ในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อของ Maker Protocol โดยทางระบบได้พัฒนาให้มีการรองรับเหรียญที่มีพื้นฐานการทำงานอยู่บนระบบบล็อกเชนของ Ethereum (ERC-20) และระบบยังมีการรับรองโดย MKR อีกที ซึ่งระบบ MRK คือหน่วยงานที่เปิดให้สมาชิกในระบบได้ทำการโหวตเพื่อประเมินและยอมรับความเสี่ยงของทรัพย์สินแต่ละตัวที่จะถูกนำมาผูกมูลค่ากับเหรียญ Stablecoins นั้นๆ สำหรับการโหวตในระบบนี้ถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สามารถชี้เป็นชี้ตายว่าระบบการเงินที่จะสร้างขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
เยี่ยมเลย!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ส่งข้อเสนอแนะแล้ว
เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว