โหนดคือผู้ที่มีส่วนร่วมทุกคนในเครือข่ายบล็อกเชน ซึ่งหมายถึงคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายบล็อกเชน โดยโหนดแต่ละโหนดก็จะแทนคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั่นเอง
โหนดมีความสำคัญมากต่อบล็อกเชน เนื่องจากจุดเด่นของบล็อกเชนคือมีการกระจายศูนย์ (Decentralization) คือไม่พึ่งพาตัวกลางใด ๆ บล็อกเชนจึงต้องพึ่งพาระบบ Peer to Peer (P2P) ที่โหนดทุกโหนดจะต้องเชื่อมต่อกัน สื่อสารกัน และช่วยดูแลรักษาระบบ รวมไปถึงตรวจสอบความถูกต้องและรักษาความปลอดภัยให้กับบล็อกเชน
ประเภทของโหนด (Types of Blockchain Nodes)
โหนดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Full Node และ Light Node ซึ่งบล็อกเชนนั้นก็เปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาเป็นโหนดทั้งสองประเภทได้โดยการนำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาต่อเข้ากับระบบ
1. Full Node - เป็นโหนดที่เก็บข้อมูล Transaction ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชนทั้งหมดตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นผู้ใช้งานจึงต้องใช้เงินลงทุนสูงไปกับอุปกรณ์ที่มีหน่วยความจำสูง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- โหนดกึ่งเต็ม (Pruned Full Node)
เป็นโหนดที่เก็บข้อมูล Transaction ล่าสุดและข้อมูลที่เหลืออีกบางส่วน โหนดลักษณะนี้ช่วยประหยัดพื้นที่ Hard Disk ของอุปกรณ์ ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพ (Specification) สูงในการเชื่อมต่อบล็อกเชน เช่น ผู้ใช้งานอาจใช้อุปกรณ์ที่มีหน่วยความจำแค่ 500 MB ในขณะที่ข้อมูลบนบล็อกชนทั้งหมดอาจมีมากถึง 360 GB - โหนดเต็ม (Archival Full Node)
โดยปกติ เมื่อพูดถึงโหนดเต็ม (Full Node) คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงโหนดประเภทนี้ เป็นโหนดที่เก็บข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ต้น ผู้ใช้งานที่ต้องการเป็นโหนดแบบเต็มต้องใช้อุปกรณ์ที่มีหน่วยความจำรองรับข้อมูลของบล็อกเชนได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันผู้ที่ต้องการเป็น Archival Full Node ให้ Bitcoin จะต้องมีหน่วยความจำรองรับถึง 360 GB
Archival Full Node ยังสามารถแบ่งประเภทย่อยได้อีกเป็นประเภทที่เพิ่มบล็อกใหม่เข้าไปในบล็อกเชนได้และที่เพิ่มไม่ได้- Miners (Mining Node) เป็น Full Node ที่เพิ่มบล็อกใหม่เข้าไปได้ด้วยการใช้ระบบฉันทามติ (Consensus Protocol) แบบ Proof of Work ซึ่งเป็นการใช้แรงคอมพิวเตอร์แข่งแก้สมการคณิตศาสตร์ในระบบ หรือเป็นการขุด (Mining) นั่นเอง
- Stakers (Staking Node) เป็น Full Node ที่เพิ่มบล็อกใหม่เข้าไปได้ด้วยการใช้ระบบฉันทามติแบบ Proof of Stake ซึ่งกำหนดให้โหนดถือเหรียญ หรือฝากเหรียญ (Stake) เข้าไปในระบบ เพื่อแลกกับโอกาสในการได้รับเลือกเป็น Staker
- Authority Node เป็น Full Node ที่เพิ่มบล็อกใหม่เข้าไปได้เลยโดยไม่ต้องรอการอนุมัติจากเครือข่ายเหมือน Miner และ Staker เพราะโหนดกลุ่มนี้ได้รับเลือกให้เป็นโหนดตรวจสอบอยู่แล้ว ส่วนมากมักเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ ระบบฉันทมติที่ใช้การเลือกตัวแทนโหนดตรวจสอบไว้แล้ว ได้แก่ Proof of Authority และ Delegated Proof of Stake เป็นต้น
- Master Node เป็น Full Node ประเภทที่ไม่ได้เพิ่มบล็อกใหม่ แต่มีหน้าที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกต่าง ๆ ในบล็อกเชน สำหรับผู้ที่เป็น Master Node จะได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกันกับผู้ที่ขุดเหรียญ (Miner) และผู้ที่ถือเหรียญ (Staker)
- Miners (Mining Node) เป็น Full Node ที่เพิ่มบล็อกใหม่เข้าไปได้ด้วยการใช้ระบบฉันทามติ (Consensus Protocol) แบบ Proof of Work ซึ่งเป็นการใช้แรงคอมพิวเตอร์แข่งแก้สมการคณิตศาสตร์ในระบบ หรือเป็นการขุด (Mining) นั่นเอง
2. Light Node - เป็นโหนดที่ดึงแค่ข้อมูลที่จำเป็นบนบล็อกเชนมาใช้ในการตรวจสอบธุรกรรมบนบล็อกเชน
- Lightweight Nodes (SPV หรือ Simple Payment Verification)
โหนดประเภทนี้จะใช้สำหรับการทำธุรกรรมทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน โดย Light Node จะสื่อสารกับโหนดอื่น ๆ โดยต้องพึ่งพาข้อมูลที่จำเป็นจาก Full Node เพราะโหนดประเภทนี้ไม่ได้เก็บข้อมูลทั้งบล็อกเชน แต่มีเพียงข้อมูลสถานะของบล็อกล่าสุดและช่วยกระจายข่าวเรื่องบล็อกใหม่ ๆ ไปยังเครือข่ายสำหรับการประมวลผล
Q&A
Q: ทำไมต้องรัน Full Node ในบล็อกเชน
A: ส่วนมากแล้วผู้ที่รัน Full Node ในบล็อกเชนเองนั้นต้องการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่มากกว่าการพึ่งพา Full Node ของผู้อื่น อีกทั้งการผู้เป็น Full Node มากขึ้นในระบบยังช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีเครือข่ายได้ด้วย
Q: Full Node กับ Master Node เหมือนกันไหม
A: Full Node กับ Master Node มีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่หากผู้ที่มาเป็นโหนดต้องการหารายได้ ก็สามารถเลือกที่จะเป็น Master Node ได้
Q: สามารถเป็นโหนดให้กับเหรียญ Bitkub Coin ได้ไหม
A: เหรียญ Bitkub Coin เป็นเหรียญประจำเครือข่าย Bitkub Chain ซึ่งใช้ ระบบฉันทามติ (Consensus Protocol) แบบ Proof of Authority นั่นหมายความว่าผู้ที่จะมาเป็นโหนดต้องได้รับการคัดเลือกจากเครือข่าย ปัจจุบัน Bitkub Chain มี 11 องค์กรที่เข้าร่วมการเป็นโหนดตรวจสอบ หากมีองค์กรใดที่ต้องการเข้าร่วมเป็นโหนดตรวจสอบ สามารถติดต่อ https://bitkubblockchain.com/contact
ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมรูปภาพที่น่าสนใจได้ที่ Plearn-D KUB EP.3 : โหนด
แหล่งอ้างอิง: https://nodes.com/#masternodes
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
เยี่ยมเลย!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ
ส่งข้อเสนอแนะแล้ว
เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว