📱 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ท่านสามารถติดต่อ Bitkub Exchange ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ของ Bitkub Call Center ได้ที่หมายเลข 1518
โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ การเปิดใช้งานเบอร์โทรศัพท์ใหม่ 1518 สำหรับติดต่อ Bitkub Call Center

Proof-of-Work vs Proof-of-Stake

แก้ไขเมื่อ วันเสาร์, 18 กุมภาพันธ์, 2023 เมื่อ 8:22 PM

ขั้นตอนของ proof-of-work มีดังนี้:

  1. ในการที่จะเพิ่มบล็อกลงในบล็อกเชน นักขุดจำเป็นที่จะต้องแก้ปริศนาคริปโตกราฟฟิค (Cryptographic puzzle) หรือโจทย์คณิตศาสตร์ เพื่อที่จะสร้างหรือขุดบล็อก
  2. ในการแก้ปริศนาคริปโตกราฟฟิค (Cryptographic puzzle) ต้องใช้การคำนวณผ่านระบบคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ดังนั้นจึงใช้พลังงานค่อนข้างเยอะ
  3. เมื่อนักขุดแก้โจทย์หรือสร้างบล็อกได้ พวกเขาจะส่งบล็อกเข้าไปในเครือข่ายแล้วแต่ละบล็อกก็จะได้รับการยืนยัน
  4. เมื่อบล็อกได้รับการยืนยันแล้ว มันจะถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน แล้วนักขุดก็จะได้รับบล็อกเป็นการตอบแทน

ขั้นตอนของ proof-of-stake มีดังนี้:

  1. Proof-of-stake ประกอบไปด้วย ผู้ตรวจสอบ (Validator) ที่ทำหน้าที่ หลอม (forge) หรือ สร้าง (mint) บล็อก ซึ่งจะแตกต่างจาก proof-of-work ที่จะเรียกว่าขุด (mine) ขั้นตอนก็คือ คอมพิวเตอร์โนด (node) จะสุ่มผู้ตรวจสอบขึ้นมา ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่การสุ่มซะทีเดียว เพราะว่าผู้ตรวจสอบต้องทำการฝากเหรียญบางส่วนไว้ในเครือข่ายที่เรียกว่าสเตค (Stake) ซึ่งขนาดของสเตคนี่เองที่เป็นตัวกำหนดโอกาสที่ผู้ตรวจสอบจะได้หลอม(forge) บล็อกต่อๆ ไป
  2. เมื่อถูกเลือกแล้ว ผู้ตรวจสอบจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดที่อยู่ในบล็อก การตรวจสอบคือ การวางใส่เหรียญลงบนบล็อกที่คิดว่ามีโอกาสสูงที่มันจะถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน
  3. ถ้าผู้ตรวจสอบเพิ่มบล็อกที่ถูกปลอมแปลงขึ้นมา เขาจะเสียเหรียญที่ฝากเอาไว้ในระบบ แต่ถ้าบล็อกนั้นถูกต้อง ผู้ตรวจสอบก็จะได้รางวัลตามสัดส่วนที่ได้วางเพื่อเป็นหลักประกันเอาไว้ ตราบใดก็ตามที่สเตคของผู้ตรวจสอบเยอะกว่ารางวัลที่จะได้รับ เราสามารถเชื่อถือได้ว่าผู้ตรวจสอบจะทำหน้าที่ได้ตามที่ตกลงไว้

ข้อโต้แย้งที่ว่า proof-of-stake นั้นดีกว่า proof-of-work

  1. สำหรับ proof-of-work นั้น ทุกคนสามารถขุดได้ และในการขุดนั้นใช้พลังงานมหาศาล แต่ proof-of-stake ใช้ผู้ตรวจสอบน้อยรายกว่าเพื่อที่จะยืนยันแต่ละบล็อก
  2. Proof-of-stake มีความสามารถในการกระจายอำนาจที่มากกว่า ใน proof-of-work มีสิ่งที่เรียกว่า ไมน์นิ่งพูล (mining pool) ซึ่งหมายถึงการรวมกลุ่มคนเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มโอกาสในการขุดบล็อกใหม่เพื่อที่จะได้บล็อกเป็นการตอบแทน  วิธีนี้ถือว่าอันตรายเพราะถ้าไมน์นิ่งพูลใหญ่ๆ รวมตัวกันแล้ว พวกเขาจะสามารถยืนยันการทำธุรกรรมที่ถูกปลอมแปลงได้เพราะว่าบล็อกเชนส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มๆ เดียว
  3. การติดตั้งโนดสำหรับ proof-of-stake มีราคาถูกกว่า เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ที่มีมูลค่าสูงเพื่อที่จะยืนยันแต่ละบล็อก ข้อนี้จึงถือเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนเข้ามาเป็นโนดมากขึ้น ทำให้ระบบปลอดภัยและกระจายอำนาจได้ดีขึ้น

จุดอ่อนของ Proof-of-stake

  1. ต้องระมัดระวังในการเลือกผู้ตรวจสอบ (Validator) ไม่ควรที่จะสุ่มทั้งหมด ควรคำนึงถึงจำนวนสเตคกับบล็อกที่จะได้รับเป็นการตอบแทนด้วย
  2. Proof-of-stake เป็นประโยชน์กับคนรวยมากกว่า เพราะว่ายิ่งสเตคเยอะ โอกาสที่จะถูกเลือกเป็นผู้ตรวจสอบก็ยิ่งสูงขึ้น ซึ่งหมายถึงรางวัลตอบแทนก็จะเยอะขึ้นไปด้วย ส่งผลให้โอกาสในการถูกเลือกครั้งต่อไปยิ่งมากขึ้นไปอีก
  3. ผู้ตรวจสอบที่ได้รับเลือกสามารถเลือกได้ว่าจะทำหน้าที่หรือไม่ทำหน้าที่นั้นก็ได้

มีข้อระบุมากมายที่กล่าวถึงจุดอ่อนของ proof-of-stake ทั้งนี้ ยังต้องมีการค้นคว้าอีกมากเพื่อที่จะเข้าใจถึงความเสี่ยงทุกอย่างของ proof-of-work และหาวิธีการแก้ไข

ท่านสนใจซื้อ Cardano (ADA) รึเปล่า ? ดูตลาดของเราได้ที่นี่ : https://www.bitkub.com/market/ADA 

 

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว