วิธีฝากเงินบาทสำหรับบัญชีนิติบุคคล

แก้ไขเมื่อ วันพุธ, 21 สิงหาคม เมื่อ 4:23 PM

* ท่านจะต้องทำการเชื่อมต่อบัญชีธนาคารที่มีชื่อบริษัทของท่านกับบัญชีนิติบุคคลของบริษัทท่านก่อนทำรายการฝากเงินในระบบ

** กรณีท่านต้องการทำผ่านแอปพลิเคชัน ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิธีฝากเงินบาท ทั้งนี้ เงื่อนไขในการฝากสำหรับบัญชีนิติบุคคล เป็นไปตามที่ระบุใน FAQ นี้

วิธีการฝากเงินบาทสำหรับบัญชีนิติบุคคลบนเว็บไซต์มีดังนี้

1. เข้าสู่ระบบบัญชี Bitkub
2. ไปที่หน้า เงินของฉัน
3. คลิกคำว่า ฝาก


Screenshot_121219_041250_PM.jpg


4. เลือกประเภทการฝาก และจำนวนเงินที่ต้องการฝาก

    4.1) เลือกชำระด้วย Mobile Application (QR Code) (หลังจากที่บัญชีของท่านผ่าน การยืนยันตัวตน เป็นบัญชีนิติบุคคลแล้ว ท่านสามารถโอนเงินด้วยวิธีนี้ได้ทันที โดยมีเงื่อนไขคือ ชื่อบัญชีธนาคารและชื่อบริษัทจะต้องตรงกัน) สำหรับการฝากด้วยวิธีนี้ เงินจะเข้าบัญชีบิทคับภายใน 1 นาที - 24 ชั่วโมง

        4.1.1) กรอกจำนวนเงินที่ท่านต้องการฝาก

        4.1.2) อ่านและกดยอมรับหน้าเงื่อนไขการฝากเงินในแต่ละข้อ

        4.1.3) กด ยืนยันฝากเงิน


Screen_Shot_2564-06-07_at_12.36.25.png

 

        4.1.4) ระบบจะสร้าง ยอดเงินฝาก และ QR Code ขึ้นมา จากนั้น โปรดสแกนด้วยแอปพลิเคชันของธนาคารที่รองรับ


Screen_Shot_2564-01-22_at_20.09.40.png


หมายเหตุ:

  • การฝากเงินเข้าบัญชีนิติบุคคลด้วยบัญชีของผู้รับมอบอำนาจหรือบัญชีส่วนตัวของผู้ที่เกี่ยวข้อง จะถือว่าเป็นการฝากเงินผิดเงื่อนไข โปรดทำธุรกรรมโดยบัญชีในนามบริษัทเท่านั้น
  • QR Code สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากท่านทำรายการโดยใช้ QR Code ซ้ำ คำขอของท่านจะไม่ได้รับการดำเนินการ และท่านจะต้องทำเรื่องขอคืนเงิน ซึ่งอาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม 
  • ระบบฝากเงิน QR Code ปิดให้บริการเวลา 23:30 น. - 00:10 น. (เวลาประเทศไทย)
  • ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอคืนเงินสำหรับรายการฝากเงินบาทผิดเงื่อนไขได้ ที่นี่
  • หากท่านต้องการเปลี่ยนแปลงยอดเงินฝาก และ/หรือ วิธีการชำระเงิน ขอแนะนำให้ท่านยกเลิกรายการก่อนหน้านี้ และสร้าง QR Code ใหม่ก่อนทำรายการเสมอ

 

    4.2) สำหรับการเลือกชำระเงินด้วยการโอน Transfer THB (หลังจากที่บัญชีของท่านผ่าน การยืนยันตัวตน เป็นบัญชีนิติบุคคล และ เพิ่มบัญชีธนาคาร แล้ว ท่านสามารถโอนเงินด้วยวิธีนี้ได้ทันที) จะมีระยะเวลาดำเนินการ ภายใน 3 วัน

        4.2.1) เลือกวิธีการฝากเงิน Transfer THB

        4.2.2) เลือกธนาคารที่ท่านต้องการทำรายการที่ระบบรองรับ (หากท่านเลือกเป็นธนาคารกสิกรไทย ระบบจะเลือกบัญชีปลายทางของบิทคับเป็นธนาคารกสิกรไทย นอกเหนือจากนี้ บัญชีปลายทางของบิทคับจะเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ทั้งหมด)

        4.2.3) กรอกจำนวนเงินที่ท่านต้องการฝาก

        4.2.4) คลิก ยืนยันฝากเงิน


Screen_Shot_2564-01-22_at_20.06.26.png

 

        4.2.5) ระบบจะแสดงยอดเงินที่ท่านต้องโอนเข้ามา (โปรดโอนยอดตามที่ระบุ รวมถึงจุดทศนิยมด้วย) เมื่อตรวจสอบข้อมูลครบถ้วน คลิก ตกลง


Screen_Shot_2564-01-22_at_20.07.44.png

 

        4.2.6) เมื่อท่านมีหลักฐานการโอนเงินแล้ว คลิก อัปโหลดหลักฐานการโอนเงิน และคลิก อัปโหลด

 

Screen_Shot_2564-01-22_at_20.02.34.png


เอกสารรูปที่อัปโหลดมีข้อกำหนดดังนี้

  • อัปโหลดรูปหลักฐานการโอนเงินของท่านเท่านั้น
  • ไฟล์รูปเอกสารของท่านต้องอยู่ในไฟล์ที่ระบบของเรารองรับเท่านั้น ได้แก่ JPG, JPEG, GIF, PNG หรือ PDF
  • หลักฐานการโอนเงินต้องตรงกับบัญชีธนาคารของท่าน และ ตามจำนวนที่ระบุไว้
  • ไฟล์รูปเอกสารที่อัปโหลดต้องมีความละเอียดสูงและอ่านได้ชัดเจน


*** หมายเหตุ:

  • ท่านจะไม่สามารถทำธุรกรรมการฝาก QR code และถอนเงินใด ๆ ได้ในเวลา 23:30 น. ถึง 00:10 น. (เวลาประเทศไทย) ของทุกวัน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ระบบธนาคารปิดปรับปรุงระบบประจำวัน (Daily maintenance)
  • การฝากเงินเข้าบัญชีนิติบุคคลโดยวิธีการโอนเงิน (Transfer) โปรดฝากเงินตามจำนวนยอดที่สร้างรายการเท่านั้น ไม่แยกยอดทำธุรกรรมและอัปโหลดหลักฐานการฝากเงินตามจำนวนที่ระบุไว้
  • ทางบิทคับยังไม่รองรับการฝากเงินเข้าบัญชีนิติบุคคล ด้วยบัญชีกระแสรายวัน โปรดใช้บัญชีออมทรัพย์ในนามบริษัทเท่านั้นในการทำธุรกรรม
  • หากท่านต้องการเปลี่ยนแปลงยอดเงินฝาก และ/หรือ วิธีการชำระเงิน ขอแนะนำให้ท่านยกเลิกรายการก่อนหน้านี้ และสร้างรายการฝากเงินเข้ามาใหม่ ก่อนดำเนินการเสมอ

 

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานะการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ ที่นี่

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการถอนเงิน สามารถศึกษาได้ ที่นี่

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว